top of page
Writer's pictureNutthaplus Chaleowong

แนะนำเทคนิคการปรับ Content Marketing โดยใช้ข้อมูลในยุค Data Driven 

Updated: Dec 4, 2024


content marketing

ในยุคที่การแข่งขัน ซึมเข้าไปในทุกๆส่วนของธุรกิจ แม้การทำสร้างคอนเทนต์ก็เช่นกัน ที่ปัจจุบันมีเครื่องมือเยอะไปหมดที่จะช่วยเหลือคุณในการสร้างเนื้อหาเพื่อทำการตลาด ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง ทุกองค์กรต่างก็แย่งชิงเวลาของผู้ชม ผู้อ่าน การทำ Content Marketing แบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป นักการตลาดต้องสร้างเนื้อหาที่โดนใจผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดคือการใช้ข้อมูลที่มีอยู่มากมายรอบตัวเรานี่แหละ มาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ในการสร้าง Content เราเลยเขียนบทความนี้ เพื่อพาทุกคนไปเจาะลึกกับเนื้อหาเทคนิคการปรับเนื้อหาของเราให้โดนใจกลุ่มลูกค้าของเรายิ่งขึ้น โดยใช้ Data หรือกลยุทธ์ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั่นเอง


 

มาเข้าใจกันก่อนว่า Content Marketing คืออะไร


content marketing

Content Marketing คือกลยุทธ์การตลาดที่ใช้การสร้างและเผยแพร่เนื้อหา (คอนเทนต์) เพื่อดึงดูดความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย โดยมีจุดประสงค์ทางการตลาด Content Marketing ประกอบด้วย 2 คําหลัก Content หมายถึง เนื้อหาหรือข้อความ และ Marketing หมายถึง การทําการตลาด เมื่อรวมกันแล้ว Content Marketing จึงหมายถึง การที่เราสร้างเนื้อหาคอนเทนต์ และเผยแพร่มันเพื่อที่จะทำการตลาด บทความ บล็อก ข่าว วิดีโอ โพสต์ สเตตัส คำบอกเล่า อะไรต่างๆพวกนี้ เราเรียกมันว่า Content ได้ทั้งหมด



ประโยชน์ของ Content Marketing มีอะไรบ้าง


SEO

ในเมื่อเราสร้างเนื้อหาขึ้นมาแล้ว และเผยแพร่มันคงไม่มีนักการตลาดคนไหนทำมันโดยไม่มีวัตถุประสงค์ นักการตลาดต่างก็ต้องการผลลัพธ์ตอบแทนจากการสร้าง Content 


สร้าง Awareness ทำให้แบรนด์เราเป็นที่รู้จัก


  • เมื่อคุณผลิตคอนเทนต์ที่ตรงกับที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ และผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณค่าต่อเขาอย่างต่อเนื่อง ผู้คนจะเริ่มติดตามช่องทางในการเผยแพร่คอนเทนต์ของคุณ พอนานเข้าพวกเขาจะเริ่มจดจำแบรนด์ของคุณได้ และสิ่งนี้คือ Awareness ยิ่งคุณผลิตคอนเทนต์ดีๆ ออกมาอย่างสม่ำเสมอ พวกเข้าก็จะยิ่งสนใจแบรนด์คุณมากยิ่งขึ้น ถ้าหากถามว่า Awareness มีประโยชน์อะไร ก็ต้องบอกว่าสำหรับนักการตลาดแล้ว ถือว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นของ Sales Funnel ที่กว่าจะไปถึงขั้นของการขายสินค้าได้ ต้องเริ่มจากการสร้าง Awareness ก่อน


ประโยชน์ด้าน SEO


  • หากคุณเขียนบทความที่มีคุณภาพ คอนเทนต์ที่มีคุณภาพสูงเหล่านั้นจะขึ้นแสดงใน Google ยิ่งเราเขียนบทความเยอะเท่าไหร่ ก็มี Keywords ที่จะนำพาผู้อ่านเข้าสู่เว็บไซต์เราผ่าน Organic Search มากยิ่งขึ้น คนก็เข้าเว็บไซต์เรามากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ผลสุดท้ายคือ อันดับเว็บไซต์โดยรวมจะดียิ่งขึ้น อีกทั้งคนที่เข้ามาอ่านบทความ หากเราวางแผน เขียนบทความให้มีเป็นกลุ่มเดียว กับกลุ่มคนที่จะเป็นลูกค้าเรา เราสามารถนำผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ไปทำ Remarketing ได้


เพิ่มฐานผู้ติดตามให้เราแบรนด์ของเรา


  • อย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วคือ เมื่อคุณผลิตคอนเทนต์ที่ดีต่อเนื่อง ดีในที่แน่ ไม่ได้แน่นแต่ประโยชน์ ดีในที่นี้คือก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละคน อาจจะทำคอนเทนต์ที่มีประโยชน์​ ทำคอนเทนต์ให้สนุก โดยรวมแล้วก็คือเป็นคอนเทนต์ที่มีคุณค่าพอให้คนติดตาม หากคุณสร้าง Content แบบนี้ได้แล้ว ผู้ติดตามก็จะเกิดขึ้น และเมื่อแบรนด์ของคุณมีฐานผู้ติดตามมากยิ่งขึ้นแล้ว สิ่งที่ตามมา คุณจะทำอะไรได้อีกหลายอย่าง เพราะหากคุณมีสินค้าอะไรใหม่ๆ ออกมา หากมีฐานผู้ติดตามเยอะ คุณก็จะขายของได้ง่ายยิ่งขึ้น


สร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับแบรนด์เรา


  • หลายคนอาจจะไม่เข้าใจว่า แค่การสร้างเนื้อหา Content ดีๆ ถึงสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้กับแบรนด์เรา ให้ยกตัวอย่างให้ดู หากคุณเป็นแบรนด์ที่จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และคอนเทนต์ที่คุณทำคือ เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างบ้าน เกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุ หรือเนื้อหาที่กลุ่มลูกค้าได้รับประโยชน์ แม้เขาจะยังไม่ได้ซื้อสินค้าของคุณ ความรู้ของผู้อ่านคือ คุณมีความเชี่ยวชาญด้านนี้ คุณเป็นผู้แบ่งปันความรู้ แม้จะยังไม่ได้ซื้อสินค้า แต่คุณก็สร้างความรู้สึกในด้านบวกให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณได้แล้ว จะความรู้สึกนี้ ก็จะส่งเสริมการขายให้กับแบรนด์ของคุณ


 

เราจะใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์กับ Content Marketing ได้อย่างไร


awareness

ถ้าเราตั้งโจทย์ว่าจะใช้ข้อมูลอย่างไรให้เกิดประโยชน์ในการทำ Content Marketing ก็ต้องถามต่อไปว่าแล้วการทำ Content Marketing มันมี Pain Point อะไรบ้าง หากหลักๆ ก็จะเป็น 3 คำถาม


3 Pain Point ของการทำ Content Marketing


  • เราจะสร้างเนื้อหาอย่างไรให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้?

  • เราจะสร้างเนื้อหาอย่างไรให้โดดเด่นและแตกต่าง?

  • เนื้อหาที่เราสร้างเหมาะสำหรับเผยแพร่ในช่องทางใด?



 


สร้าง Content ให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย


content writing

หากเราต้องการที่จะสร้างเนื้อหาที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเราได้ ต้องเริ่มจาก Identify ให้ได้ว่ากําลังสื่อสารกับใคร ระบุกลุ่มเป้าหมายที่จะเห็น Content ของเราให้ได้ว่าเขาคือใคร ชอบอะไร สนใจอะไร ให้ความสำคัญต่อคุณค่าแบบไหน และแน่นอนว่า Data จะหาคำตอบเหล่านี้ได้ ให้คุณได้รู้ว่า Insight ของกลุ่มลูกค้าคุณเป็นอย่างไร การหา Customer Insight เพื่อนํามาทํา Content Marketing ถ้าจะอธิบายให้เป็นขั้นเป็นตอน จะประกอบด้วย 5 ขั้นตอน


  1. ระบุให้ได้ว่าเราจะเอาข้อมูลมาจากไหน

ในยุคของ Data Driven เราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลากลายช่องทางไม่ว่าจะ โซเชียลมีเดีย จากเว็บไซต์ของเรา จากฐานข้อมูลลูกค้า ไม่ว่าจะข้อมูลการซื้อ ประวัติการใช้บริการ และข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า หรือจะสอบถามความคิดเห็นและความต้องการของลูกค้าโดยตรงโดยการทำแบบสอบถาม


  1. เก็บรวบรวมข้อมูล

ในปัจจุบันเรามีเครื่องมือ Analytics มากมายให้เลือกใช้ เช่น Google Analytics, Facebook Analytics เราสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียของลูกค้าเราได้ ให้จำเอาไว้ว่า ข้อมูลเป็นเหมือนทองในยุคนี้ เราควรที่จะเก็บให้ดี เก็บทุกอย่างเอาไว้เท่าที่เป็นไปได้


  1. การวิเคราะห์ข้อมูล

การหาว่า Customer Insight ของเราเป็นอย่างไร เราสามารถทำได้โดยการเอาข้อมูลที่เราเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์ เพื่อที่จะแบ่งกลุ่มลูกค้า และเข้าใจถึงพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเรา เราสามารถแบ่งได้โดยแบ่งกลุ่มตามข้อมูลประชากรศาสตร์ ลูกค้าของเรามีเพศอะไรเพื่อเข้าใจความสนใจที่แตกต่างกันในแต่ละเพศ อายุอยู่ในช่วงไหนเพื่อเข้าใจความต้องการที่แตกต่างกัน มีการศึกษาอยู่ในระดับไหนเพื่อเข้าใจระดับความรู้และความสนใจในเนื้อหาที่ซับซ้อน อยู่ในกลุ่มอาชีพแบบไหน เพื่อเข้าใจความสนใจเฉพาะทางและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับงาน และมีรายได้เท่าไหร่เพื่อให้เขาใจว่าเขามีไลฟ์สไตล์อย่างไร เมื่อเราระบุ Profile ของลูกค้าเราได้แล้ว เราก็จะพอเดาได้ว่าเนื้อหา Content แบบไหนที่พวกเขาจะสนใจ


  1. สร้าง Customer Persona

มีบ่อยครั้งแม้เราแยกข้อมูลได้ว่า Profile ลูกค้าของเราเป็นอย่าง แต่ก็เป็นไปได้ว่าจะมีหลากหลาย Profile ไม่สามารถจำแนกเป็นแบบใดแบบหนึ่ง แต่เราสามารถทำได้โดยการสร้าง Customer Persona ขึ้นมา หากไม่สามารถสร้าง Profile กลุ่มลูกค้าของเราได้ 1 Persona ก็สร้างมันขึ้นมาหลายๆ แบบ โดยอ้างอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูล โดย Customer Persona นั้นเราสามารถ เอาไปวิเคราะห์ต่อได้ว่าเราจะสร้างเนื้อหาอย่างไร ให้ถูกใจ Persona นั้นๆ 


  1. หา Insight ของ Customer Persona ว่าสนใจ Content แบบใด

เมื่อเราสร้าง Customer Persona ของกลุ่มลูกค้าเราได้แล้ว ให้เราคาดเดาว่าไลฟ์สไตล์และความสนใจ ของ Persona นั้นๆ เป็นอย่างไร งานอดิเรกและกิจกรรมอะไรที่ลูกค้า Persona สนใจ กีฬา, เทคโนโลยี, หรือการท่องเที่ยวอะไรบ้างที่เขาอาจจะสนใจ ให้หาทำความเข้าใจถึง Pain Points หรือปัญหาที่กลุ่มคนเหล่านี้มักจะพบเจอ เพื่อที่จะรู้ว่าพวกเขามีแรงจูงใจอะไรบ้างในการหยุดดู หยุดอ่าน Content ต่างๆ ที่พวกเขาเจอ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราออกแบบกลยุทธ์ในการสร้าง Content ของเราได้ ว่าจะสร้างเนื้อหาที่แก้ปัญหาของแต่ละ Persona ใช้ภาษา สำนวนที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย


 

สร้าง Content ให้โดดเด่นและแตกต่าง?


customer persona

จริงๆ แล้วไม่มีวิธีที่ตายตัวสำหรับการสร้าง Content ให้โดดเด่นและแตกต่าง มีวิธีมากมาย ไม่มีกรอบจำกัดเอาไว้ แต่พอจะมีไกด์ไลน์เอาไว้อยู่ว่า เราจะเอา Insight ของ Customer Persona เรามาสร้างเนื้อหาอย่างไร


  • นำเสนอเนื้อหาวิธีแก้ปัญหาที่ตรงกับ Pain Points ของ Persona นั้นๆ

  • ปรับการใช้ภาษาให้เข้ากับ Persona นั้นๆ เช่น ใช้ภาษาที่เป็นกันเองสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือใช้ภาษาที่เป็นทางการสำหรับกลุ่มมืออาชีพ

  • นำเสนอในรูปแบบที่ Persona นั้นชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น หากกลุ่มลูกค้าของเราเป็นกลุ่มคนใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการวิ่ง ปั่นจักรยาน ก็ให้ใช้เนื้อหารูปแบบพอดแคสต์เป็นต้น

  • เอาข้อมูลเชิงลึกหรือผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับความสนใจของ Persona นั้น มาสร้างเป็นเนื้อหา

  •  ออกแบบ Content ที่กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม เช่น แบบทดสอบสั้นๆ หรือการโพลล์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ Persona สนใจ



หาช่องทางและเวลาที่เหมาะสมสำหรับเผยแพร่ Content


social-media

เมื่อคุณมี Insight ของ Customer Persona แล้วว่าเขาสนใจเนื้อหาประมาณใด วิเคราะห์ออกมาได้แล้วว่า จะสร้าง Content อย่างไรให้โดดเด่นและแตกต่าง สำหรับคนกลุ่มนี้ ขั้นต่อไปคือลงมือสร้างเนื้อหา และหาให้ได้ว่าเนื้อหานั้นๆ เหมาะสำหรับเอาไปเผยแพร่ในช่องทางใด ปัจจุบันเรามีตัวเลือกมากมาย ไม่ว่าจะ Social Media ต่างๆ หรือจะเป็นเว็บไซต์ของเรา หรือจะเป็นช่องทาง Steaming ใดๆ ซึ่งแน่นอนว่า พลังของ Data นี้แหละที่จะหาคำตอบได้ มาดูกันว่าจะทำอย่างไร


เลือกช่องทางที่เหมาะสม


  • จริงๆ อยากจะบอกว่า ให้หาแพลตฟอร์มที่ Persona ของคุณใช้งานบ่อยที่สุด แน่นอนว่าถ้าคุณเก็บข้อมูลเอาไว้ดีพอ ก็หาคำตอบได้ไม่ยาก แต่หากเราไม่มีข้อมูลส่วนนี้หละจะทำอย่างไร มี 2 วิธีที่เราจะแนะนำ หนึ่งคือคาดเดาจากข้อมูลประชากรศาสตร์ เช่นว่าหาก Persona เราเป็นกลุ่ม Gen Z หรือ Alpha ก็จะใช้ IG มากกว่าใช้ Facebook เป็นต้น วิธีที่สองคือดูธรรมชาติของแพลตฟอร์มนั้นๆ เช่น LinkedIn เหมาะกับ Content เชิงธุรกิจและการพัฒนาอาชีพ Instagram เน้น Content ที่เป็นภาพและวิดีโอสั้น ส่วน YouTube เหมาะสำหรับวิดีโอยาวที่ให้ข้อมูลเชิงลึก เป็นต้น


เลือกเวลาที่เหมาะสม


  • เวลาที่เหมาะสมก็เช่นกัน หากเราได้เก็บข้อมูลมาสักพักหนึ่งแล้ว ก็จะหาได้ว่าเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกลุ่มลูกค้าเราเป็นอย่างไร แต่หากไม่ เราก็ใช้ 2 วิธี วิธีที่หนึ่งคือคาดเดาจากข้อมูลประชากรศาสตร์ได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นหากกลุ่มลูกค้าของเราเป็นพนักงานออฟฟิศ มีเวลาทำงาน เลิกงาน คงที่ ดังนั้นช่วงเวลาที่กลุ่มคนเหล่านี้สามารถดูเนื้อหาของเราได้ ก็ช่วงเวลาที่เขาไม่ทำงาน เป็นต้น วิธีที่สองคือทำ A/B Testing ให้เราทดลองและเก็บข้อมูลเรื่อยๆ ว่าช่วงเวลาไหน มี Engagement มากที่สุด 


 
บทสรุป

ก่อนจะไปจะขอฝากไว้เรื่องสุดท้าย ที่หลายคนมักจะมองข้ามเพราะหลงไปกับวิธีการทางตลาด หลงไปกับเรื่องประสิทธิภาพมากจนเกินไป อยากจะมีคนเข้ามาเสพเนื้อหาเราเยอะๆ จนลืมเรื่องจรรยาบรรณไป หลายคนอาจจะเห็นว่าไม่สำคัญ แต่หากมองกันยาวๆ เรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะไม่นั้นแล้ว ทุกอย่างที่เราทำมา สะสมมา อาจจะพังข้ามคืนได้ ดังนั้นก่อนไปวันนี้จะขอฝากเอาไว้ 3 ข้อ

  1. นำเสนอข้อมูลที่เป็นความจริงไม่บิดเบือน มีความโปร่งใสในการสื่อสาร

  2. เคารพสิทธิส่วนบุคคล ไม่ละเมิดหรือสร้างอคติให้กับบุคคลอื่น

  3. รับผิดชอบต่อเนื้อหาที่นำเสนอ คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ไม่สร้างความแตกแยก


 

14 views0 comments

Comments


bottom of page